CRT
(Cathode Ray Tubes) เป็นจอภาพที่ใช้หลอดภาพให้เกิดการแสดงผล
จะมีขนาดที่ใหญ่ (จออ้วน) ทำให้เปลืองพื้นที่ใหนการจัดวาง
หลังจากนั้นก็ได้มีการพัฒนาจอภาพให้เป็นแบบ LCD
LCD
(Liquid Crystal Display) การทำงานของจอภาพ
LCD
นั้นอาศัยหลักของการใช้ความร้อนที่ได้จากขดลวดมาทำการเปลี่ยนและบังคับให้ผลึกเหลวแสดงสีต่างๆ
ออกมาตามที่ต้องการ ทำให้แสงสว่างที่ได้จะไม่สั่นไหวเหมือนจอภาพแบบที่ใช้หลอดภาพ
ซึ่งประโยชน์ก็คือสามารถลดความเมื่อยล้าในการมองได้ แบ่งเป็น 2 ประเภท
Dual-Scan
Twisted Nematic
(DSTN) เป็นจอภาพแบบ
Passive
Matrix จอภาพที่มีสีค่อนข้างแห้ง
เนื่องจากมีความสว่างน้อย และสีสันไม่มากนัก ทำให้ไม่สามารถมองจากมุมมองอื่นได้
นอกจากมองจากมุมตรง และมีการตอบสนองที่ช้ามาก
Thin Flim
Transistor (TFT) เป็นจอ
LCD
ที่ถูกพัฒนาเพื่อแก้ไขข้อบกพร่องของจอ
LCD
แบบ
DSTN
โดยจอแบบ
TFT
นีเป็นแบบ
Active
Matrix ผลที่ได้ก็ทำให้มีการตอบสนองต่อการเปลี่ยนแปลงของภาพที่เร็วขึ้น
มีความคมชัดมากขึ้น จอภาพมีสีสดใสมองเห็นจากหลายมุม
LED
(Light-emitting diode) จากแบบ
LCD
พาเนลผลึกไม่สามารถเปล่งแส่งออกมาได้
จึงได้เกิดการปรับปรุงจอภาพใหม่
ที่เรียกว่าไดโอดเปล่งแสงเอามาเรียงตัวกันเพื่อเป็นตัวกำเนิดแสงแทนนั่นเอง
ซึ่งการใช้ LED นั้นจะประกอบด้วยหลอด LED ถึงสามสีด้วยกันได้แก่ แม่สีสามสีคือ แดง เขียว น้ำเงิน (RGB)
OLED
(Organic Light Emitting Diodes) ในปัจจุบันได้มีการนำเทคโนโลยี OLED มาใช้กับจอภาพคอมพิวเตอร์โน้ตบุ๊คทำให้มีภาพเคลื่อนไหวที่ชัดเจน
การแสดงผลของจอภาพ OLED แสดงผลได้เร็วกว่าจอภาพ LCD
Plasma
จอภาพ
Plasma
คือ
วิวัฒนาการแห่งเทคโนโลยี visual image สำหรับแสดงข้อมูลดิจิตอล
ด้วยเทคโนโลยี ALIS มีคมชัด มีความละเอียด
และความสว่างสูง มีสีสันที่ใกล้เคียงกับสีตามธรรมชาติเป็นอย่างมาก
และมีมุมมองที่คมชัดมากกว่าจอภาพแบบ LCD สามารถมองภาพได้ชัดเจนในมุมกว้างเกือบ
180 องศา
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น